The Flying Moose Lifestyle 10 ข้อควรรู้ ปรับความเข้าใจผิด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายขณะขับขี่

10 ข้อควรรู้ ปรับความเข้าใจผิด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายขณะขับขี่


ประกันรถยนต์ชั้น 1

มีรถทั้งที ต้องศึกษาข้อมูลการใช้รถให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ใช่ฟังเพียงแค่คำบอกต่อ ๆ กันมา ซึ่งหลาย ๆ เรื่องก็ถูกต้อง แต่หลาย ๆ เรื่องก็ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่ และเพื่อให้การขับขี่เป็นไปด้วยความปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุจนต้องเรียกใช้ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ซื้อความคุ้มครองไว้ตั้งแต่ออกรถ วันนี้เราจึงมาแบ่งปัน 10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับรถที่คนส่วนมากมักเข้าใจผิด  เพื่อให้รถคันเก่งของคุณพร้อมใช้งานในทุกครั้งที่สตาร์ท และมีสมรรถนะที่สมบูรณ์ พร้อมพาคุณออกเดินทางได้อย่างปลอดภัยในทุกเส้นทาง

ฝนตกเลือกใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ จะเกาะถนนกว่าระบบ 2 ล้อ

ความเข้าใจนี้ถูกต้องเพียงบางส่วน จริงอยู่ที่รถขับเคลื่อน 4 ล้อจะมีสมรรถนะการเกาะถนนที่ดีกว่า 2 ล้อ แต่เฉพาะในกรณีที่รถของคุณเป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบถาวร ซึ่งหากรถของคุณเป็นรถที่สามารถปรับมาเป็นขับเคลื่อน 4 ล้อแบบชั่วคราวได้นั้น หากใช้ในขณะฝนตกอาจทำให้รถถูกลดทอนสมรรถนะในการขับขี่ลง วงเลี้ยวของรถกว้างขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุรถหลุดโค้ง ทั้งนี้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบชั่วคราวนั้นจะเหมาะสำหรับใช้กับเส้นทางที่เดินทางได้ยากลำบาก ทางขรุขระตามพื้นที่ทุรกันดาร หรือเส้นทางตามป่าเขา

จะออกทริปทางไกลต้องถอนลมยางออกให้อ่อนเข้าไว้

เรื่องลมยางอ่อนในการขับรถทางไกลเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดอย่างมหันต์ เพราะในความเป็นจริงแล้วลมยางอ่อนจะทำให้มีโอกาสยางระเบิดได้ง่าย เนื่องจากลมยางที่อ่อนจะทำให้ยางด้านนอกสึกมากกว่าด้านใน เสียโครงสร้างยางจนยางเสียดสีกลายเป็นความร้อนและเกิดการระเบิดในที่สุด วิธีที่ถูกต้องเมื่อต้องเดินทางไกล คุณควรเติมลมยางให้มากกว่าระดับปกติประมาณ 2-3 ปอนด์ ก็จะขับขี่ได้ปลอดภัยความเสี่ยงยางระเบิดลดน้อยลง

ตั้งศูนย์แค่ล้อหน้าเท่านั้นพอ

ล้อหน้าไม่ได้สำคัญเหมือนช้างเท้าหน้า ฉะนั้นทุกล้อของรถจึงมีความสำคัญที่เท่าเทียมกันหมด จึงควรตั้งศูนย์ในทุก ๆ ล้อ เพื่อให้การขับรถเป็นไปอย่างสมดุล ไม่ปัดเป๋แถเอียงจนทำให้เกิดอันตรายขณะขับขี่

เจอสี่แยกเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินเมื่อจะไปทางตรง

ชื่อก็บอกแล้วว่าสัญญาณไฟฉุกเฉินไม่ใช่สัญญาณไปตรง มีไว้ใช้ในกรณีที่รถเกิดเหตุฉุกเฉินเท่านั้น และการที่รถเจอสี่แยกต้องขับตรงไปไม่เลี้ยงซ้ายหรือเลี้ยวขวา ก็ไม่ใช่กรณีฉุกเฉินที่ต้องเปิดสัญญาณไฟนี้ เพราะหากคุณใช้ในทางที่ผิด อาจทำให้รถที่มาจากทางซ้ายหรือขวาที่ไม่เห็นสัญญาณไฟฉุกเฉินอีกข้างเข้าใจผิดคิดว่าคุณจะเลี้ยว จนกลายเป็นอุบัติเหตุที่สร้างความเสียหายจนต้องนำรถเข้าเคลมประกันรถยนต์ชั้น 1 ถึงจะซ่อมได้เหมือนรถใหม่ป้ายแดง แต่ก็ต้องเสียเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่องที่เกิดจากการเข้าใจผิดที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์

เจอเส้นทางที่วิสัยทัศน์ไม่ดีให้รีบเปิดไฟฉุกเฉินทันที

อีกหนึ่งความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับไฟฉุกเฉิน หากคุณขับขี่ไปแล้วบังเอิญเจอสถานการณ์อากาศไม่เป็นใจ ฝนตกหนัก หรือหมอกลงจัดจนไม่สามารถมองเห็นถนนข้างหน้าได้ ครั้นจะขับไปเฉย ๆ ก็กลับจะเกิดอุบัติเหตุ เลยเปิดไฟฉุกเฉินให้รู้ว่ามีรถขับอยู่ตรงนี้อีกคัน ซึ่งนี่คือความเข้าใจที่ผิดอีกเช่นกัน การใช้ไฟฉุกเฉินควรใช้ในกรณีที่รถจอดอยู่ข้างทาง ไม่ใช่ขณะขับขี่อยู่บนท้องถนน เพราะอาจทำให้รถที่สวนทางมาเข้าใจผิดคิดว่ารถของคุณจอดเสียอยู่ข้างทาง เกิดการหักหลบในทิศทางที่เข้าใจผิดจนกลายเป็นอุบัติเหตุข้ามเลนมาเฉี่ยวชนหรือขับตกถนนลงข้างทางไปเลยก็เป็นได้

ปรับเบาะเอนนอนเป็นท่าขับที่สบายที่สุด

หลาย ๆ คน มักเข้าใจผิดว่าการปรับเบาะรถแบบแทบจะเอนนอนคือท่าขับรถที่เหมาะที่สุด แต่เอาเข้าจริงกับตรงกันข้าม แม้แต่นักแข่งรถยังไม่นั่งกึ่งนอนขับแบบนี้เลย แขนที่ต้องเหยียดตึงตลอดเสมือนเอื้อมไปจับพวงมาลัยทำให้ผู้ขับขี่เกิดอาการเมื่อยล้า ต้องขยับตัวตลอดเมื่อต้องเข้าโค้งเพื่อให้จับพวงมาลัยได้ถนัดขึ้น แถมยังลดวิสัยทัศน์ในการมองเห็นให้น้อยลง มองด้านหน้าและหลังแทบจะไม่เห็นเลยด้วยซ้ำ ซึ่งท่านั่งที่ถูกต้อง ควรเอาหลังผิงพนักให้ทุกส่วนของหลังแนบสนิทกับเบาะ มือวางที่ส่วนบนสุดของพวงมาลัย แล้วให้ช่วงแขนหย่อนเล็กน้อย ความห่างของขาต้องปรับให้ขาสามารถเหยียบครัตซ์ได้พอดีไม่สุดเท้า หรือขางอจนเกินไป

นั่งติดพวงมาลัยทำให้มองเห็นถนนได้ชัดเจนขึ้น

ใครที่ปรับเบาะรถจนติดพวงมาลัย รีบไปขยับออกตอนนี้เลย เพราะนี่คือการนั่งที่อันตรายมาก นอกจากทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดน้อยลง หมุนพวงมาลัยได้ลำบาก เวลาเกิดอุบัติเหตุหน้าอกยังกระแทกพวงมาลัยได้เต็มที่ รวมถึงหากชนแรงจนถุงลมนิรภัยทำงานอาจรับแรงระเบิกจากถุงลมนิรภัยเข้าไปแบบเต็ม ๆ

หมุนพวงมาลัยด้วยการสอดมือเข้าไปในด้านใน

เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงหมุนพวงมาลัยกันท่านี้ หงายมือแล้วสอดมือเข้าไปตรงช่องว่างกลางพวงมาลัยเพื่อหมุนเลี้ยวรถ เพื่อช่วยเบาแรง เลี้ยวง่าย และปลอดภัย นี่ก็เป็นอีกความเข้าใจผิด ๆ เพราะการหมุนพวงมาลัยลักษณะนี้จะทำให้พวงมาลัยหลุดมือได้ง่ายกว่าการหมุนแบบคว่ำมือจับพวงมาลับรอบนอกแบบปกติธรรมดา

เข้าเกียร์ว่างเมื่อเจอทางลาดชัน

การเข้าเกียร์ว่างขณะขับลงทางลาดชันจะทำให้ชุดเกียร์พังได้ เพราะการปลดเกียร์ว่างที่ความเร็วสูงจะทำให้เกิดการเสียดสีที่มากกว่าการใช้งานปกติ ส่งผลต่อไปยังระบบเบรกที่ทำงานหนักจนเกิดความร้อนและไหม้ในที่สุด เป็นที่มาของอาการผ้าเบรกไหม้ทำให้การขับขี่ลงเขาเกิดอันตราย เบรกใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเหมือนเคย กลายเป็นอุบัติเหตุให้ต้องเรียกประกันรถยนต์ชั้น 1 มาใช้บริการอีกเช่นเคย

ขับรถเลี้ยงคลัตช์บนทางลาดชันแทนการเหยียบเบรก

การเลียครัตช์ไม่ควรเกิดขึ้นในทุก ๆ กรณี เพราะนอกจากจะทำให้ระบบคลัตช์ชำรุดง่ายขึ้นกว่าเดิมแล้ว ยังทำให้ระบบเกียร์เกิดความร้อนสะสม ศูนย์เสียการควบคุมจนอาจพุ่งชนรถคันหน้าก็เป็นได้

ได้ความรู้กันแน่น ๆ เต็มที่กันไปเลยกับ 10 ข้อควรรู้ที่ผู้ใช้รถต้องเข้าใจให้ถูก เพื่อให้การขับขี่เป็นไปอย่างปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุให้ต้องเสียใจภายหลัง ที่สำคัญต้องไม่ลืมซื้อความคุ้มครองที่คุ้มค่าติดรถไว้เสมอ และหากคุณต้องการข้อมูลและคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์ชั้น 1 ชั้น 2 หรือชั้น 3 สามารถแวะเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ Easy Compare โดยมีข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบราคาประกันภัยรถทุกประเภท เพื่อให้คุณได้นำไปตัดสินใจเลือกประกันภัยที่ดีที่สุดให้กับรถคันเก่งของคุณได้อย่างเหมาะสม คุ้มค่า และตรงใจ